การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

เปิดตำนานตะรุเตา

ตะรุเตาเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2479 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายให้กรมราชทัณฑ์สำรวจพื้นที่ เพื่อจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพ สำหรับกักขังและฝึกอาชีพให้นักโทษอุกฉกรรจ์

เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล จึงถูกเลือกด้วยเพราะเป็นเกาะใหญ่อยู่กลางทะเลลึก ในน้ำมีจระเข้และฉลาม ไม่มีเรือวิ่งผ่านไปมา ลมแรง คลื่นจัดเป็นกำแพงธรรมชาติ ป้องกันการหลบหนีได้อย่างดี

จากตำนานตะรุเตากับเสน่ห์แห่งกาลเวลา สู่ยุคแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณะเฉพาะถิ่น โดยการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

ทรัพยากรการท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชายหาด ถ้ำจรเข้ น้ำตก หินงาม แนวปะการัง
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ อ่าวตะโละวาว อ่าวตะโละอุดัง
สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะ

กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะ เส้นทางเดินเท้าอ่าวตะโละวาว อ่าวสน ชมวิวผาโต๊ะบู ผาชะโด น้ำตกโจรสลัด
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล ชมปะการังอ่อนที่เกาะจาบัง หินซ้อน ชมปะการังแข็ง หาดทรายขาวที่เกาะดง
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางวัฒนธรรม ชมประเพณีลอยเรือ

สิ่งอำนวยความสะดวก

อ่าวพันเตมะละกา บ้านพัก เต็นท์ ค่ายพักแรม
อ่าวเมาะและ บ้านพัก เต็นท์
อ่าวสน อ่าวตะโละวาว กางเต็นท์
เกาะอาดัง บ้านพัก เรือนแถว เต็นท์

ข้อห้ามและบทกำหนดโทษ พ.ศ. 2504 ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา

  1. เก็บหิน ปรับ 500-20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 5-20 ปี
  2. เก็บพันธุ์พืชไม้ กล้วยไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ ปรับ 500 บาท
  3. ขีดเขียนในที่ต่างๆ ปรับ 500 บาท
  4. นำอาวุธเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ปรับ 500 บาท
  5. ล่าสัตว์ ปรับ 500-20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี
  6. ยิงปืน จุดประทัด จุดวัตถุระเบิด ปรับ 500 บาท
  7. ส่งเสียงอื้อฉาว ปรับ 500 บาท
  8. ทิ้งขยะ ปรับ 500 บาท
  9. ทำลายป้ายต่างๆ ปรับ 500 บาท
  10. ไม่เชื่อฟังคำสั่งเจ้าหน้าที่ ปรับ 1,000 บาท

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา สตูล
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่มา อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านถ้ำผึ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง  หมู่ 5 ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84250
บ้านถ้ำผึ้งเป็นชื่อของหมู่บ้าน ซึ่งได้มาจากชื่อภูเขาลูกหนึ่งในหมู่บ้านมีถ้ำอยู่ภายใน และมีผึ้งอาศัยอยู่ ปัจจุบันยังมีคงมี
     ผึ้งอาศัยอยู่ในถ้ำจำนวนมาก และชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ชุมชนบ้านถ้ำผึ้งเป็นชุมชนที่อพยพมาจาก
     ต่างถิ่น โดยมีนายเป้า เกษโกมล จากกรุงเทพฯ เป็นบุคคลแรกที่เข้ามาและเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2505 และชวนลูกหลาน
     มาทำกิน เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีป่า สัตว์ป่า ต้นน้ำ หลังจากเป็นชุมชนได้มีชาวบ้านใกล้เคียงอพยพเข้ามาจับจองที่ดินทำกิน
     กันมากขึ้น 
               สภาพโดยทั่วไปของบ้านถ้ำผึ้ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ คือ ภูเขา หุบเขา ขึ้นอยู่ตามความสูงต่ำของพื้นที่
     เป็นเขาหินปูน มีถ้ำอยู่ภายใน มีป่าต้นน้ำที่เป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร


แหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน
Jบึงมหัศจรรย์น้ำดันทรายดูด
Jป่าต้นน้ำ น้ำผุด
Jดอกไม้สีดำ
Jถ้ำน้ำลอด
Jถ้ำประวัติศาสตร์สมรภูมิ
Jน้ำตกธารพฤกษาหรือน้ำตกบางคุย

ที่มา  www.cbtthaidatabase.org/page/showpage.aspx?idindex=38


กิจกรรมและการบริการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน
{ทรัพยากรการท่องเที่ยวภายในชุมชน ประกอบด้วย ภูเขา ป่าไม้ น้ำตก พืชพรรณธรรมชาติที่หายาก เช่น รองเท้านารี
ปาล์มราหู พืชผลทางเกษตร เป็นต้น
{กิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชน
˜ศึกษาชมความงามและความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ
˜ศึกษาประวัติศาสตร์และเรียนรู้ทางธรรมชาติ
˜ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
˜การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ

<><><><>
<>
<><><><>
การบริการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน
˜บ้านพักโฮมสเตย์
˜สถานที่กางเต็นท์
˜อาหารปิ่นโตโดยชุมชน
˜เดินป่า
˜ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
{เอกลักษณ์ของชุมชน  วิถีชีวิตชุมชน เช่น การจัดอาหารปิ่นโตบ้านละเถา แล้วนำมาวางเรียงและรับประทานร่วมกัน
ระหว่างชุมชนกับผู้มาเยือนในลักษณะบุฟเฟต์

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อ่าวหินงาม

อ่าวหินงามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งบนเกาะพะงัน เกาะที่ยังคงสภาพความสมบูรณ์ทรงคุณค่า แห่งประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี

เมื่อกล่าวถึงสถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะพะงัน อ่าวหินงามยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงมากนัก เพราะที่เกาะพะงันมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามและขึ้นชื่ออยู่หลายแห่ง เช่น น้ำตกธารเสด็จ ซึ่งเป็นน้ำตกที่รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสถึง 14 ครั้ง และได้ทรงพระราชทานนามไว้ หรือสถานที่อีกแห่งที่ผู้คนรู้จักกันก็คือ สวนสุวรรณโชติการาม หรือวัดเขาถ้ำ ตั้งอยู่บนยอดเขาข้าวแห้ง เป็นสำนักสงฆ์ที่ร่มรื่นและในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายนจะมีชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมมานั่งวิปัสนาเพื่อชำระจิตใจให้ผ่องใส และถ้าพูดถึงหาดบนเกาะพะงันที่มีชื่อเสีงมากแห่งหนึ่งคือ หาดริ้น หาดที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินิยมมา ชุมนุมกันในวันพระจันทร์เต็มดวง เรียกว่า ฟูลมูน ปาร์ตี้ ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนนับพันคนมาเต้นรำกันอย่างสนุกสนานจนมีชื่อเสียง ดังไปทั่วโลก

อ่าวหินงามเป็น
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนเกาะพะงัน เป็นอ่าวที่มีความงาม และแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่ง อ่าวหินงามแห่งนี้ นับว่าเป็นอ่าวที่ยังไม่มีผู้ยึดครองเรียกได้ว่ายังเป็นพื้นที่สาธารณะแห่งเดียวบนเกาะพะงัน รอบ ๆ ชายหาดมีหินลักษณะกลมเกลี้ยง มีประกายยามสะท้อนกับแสงอาทิตย์อย่างสวยงามอยู่มาก เมื่อก่อนมีจำนวนมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้มีการลักลอบนำไปขาย ทำให้ปริมาณหินสวยงามลดไปมาก จึงได้มีการอนุรักษ์และมีการระวางโทษหากมีผู้ในฝ่าฝืนเข้ามาขโมยจะมีโทษทั้ง จำและปรับที่อ่าวหินงามสามารถมองท้องทะเลได้กว้างไกลจนสุดสายตา ความงามของพื้นที่แห่งนี้ที่เป็นศูนย์รวมความสวยงาม ของทรัพยากรธรรมชาติที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวและสวยงามที่สุด จึงเหมาะเป็นจุดชมวิวอีกแห่งหนึ่งในยามพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ถ้าคุณได้เดินทางไปเที่ยวที่เกาะพะงันอย่าลืมแวะไปชมสถานที่ท่องเที่ยวอ่าวหินงามกัน 

การเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะพะงัน

เดินทางระหว่างสุราษฎร์ธานี-เกาะพะงัน
(1) เรือเฟอร์รี่ ของบริษัท ราชาเฟอร์รี่ ออกจากท่าเรือดอนสัก ไปเกาะพะงัน เวลา 10.00 น. 14.00 น. และ 18.00 น. ถึงเกาะพะงัน เวลา 12.30 น. 16.30 น. และ 20.30 น. ค่าโดยสารคนละ 180 บาท/คน
(2) เรือด่วน ของบริษัท ส่งเสริม รุ่งเรือง ออกจากสุราษฎร์ธานี วันละ 1 เที่ยว เวลา 08.00 น. ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร 205 บาท
(3) เรือนอน ติดต่อได้ที่ท่าเรือบ้านดอน เรือออกเวลา 23.00 น. ถึงเกาะพะงัน เวลา 06.00 น. ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร 150 และ 200 บาท

เดินทางระหว่างเกาะสมุย-เกาะพะงัน
เรือด่วน บริษัท ส่งเสริม รุ่งเรือง ออกจากท่าเรือหน้าทอน วันละ 3 เที่ยว เวลา 09.00 น. 11.00 น. และ 17.00 น. ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร 115 บาท สอบถามข้อมูล โทร. 0 2280 7897 สำนักงานเกาะสมุย โทร. 0 7742 0157 



ที่มาhttp://siamtips.blogspot.com/2010/10/blog-post_10.html

ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ป่าเขาภูหลวง ป่าเขาภูหลวง บ้านคลองสมบูรณ์ ตำบลระเริง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

 ชื่อ ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ป่าเขาภูหลวง ( Ecotourism in Pha Khao-Phuluang )
 ที่อยู่บ้านคลองสมบูรณ์ ตำบลระเริง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
 ติดต่อโทร. 0-7256-7507 , 0-7869-0491 หรือ 0-4424-3008 ต่อ 135
 ประเภท แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ป่าเขาภูหลวง  เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ในพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวง บ้านคลองสมบูรณ์ ตำบลระเริง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ครอบคุมพื้นที่ 170,000 ไร่ เป็นเทือกเขาป่าดิบแล้งแนวยาวกว่า 40 กิโลเมตร มีศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเจ้าหน้าที่ประจำ เปิดให้บริการเข้าค่ายศึกษาธรรมชาติในทุกรูปแบบ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมที่พักทั้งแบบบ้าน และ เต็นท์
 ที่พัก   มีบ้านพักเดี่ยว 1 หลัง พร้อมที่นอน (พักได้ 6 - 10 คน) บ้านพักรวม 1 หลัง พร้อมที่นอน (พักได้ 60 คน ) เต็นท์ขนาด นอน 2 - 4 คน 30 หลัง 
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
 การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ (Hiking/Trekking) ชมสภาพป่าดิบแล้งของเขาโซ่ อันอุดมสมบูรณ์ ท่ามกลางการสื่อความหมายตลอดเส้นทาง
พายเรือ/ตกปลา (Canoeing/Fishing)  บริเวณอ่างเก็บน้ำของโครงการ เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถพายเรือ ดูนกและตกปลา พร้อม ๆ กันได้ ดูนก (Bird Watching) เป็นอีกกิจกรรมที่ได้รับความนิยมและสนใจจากนักท่องเที่ยว
 การเข้าค่าย (Nature Camp) ทางศูนย์เปิดให้บริการเข้าค่ายศึกษาธรรมชาติในทุกรูปแบบ อาทิเช่น ค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ค่ายลูกเสือ - เนตรนารี ค่ายชมดาว ค่ายภาษาอังกฤษ และค่ายเยาวชนพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น สามารถติดต่อล่วงหน้า ทางศูนย์จะมีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์พาเดิน ศึกษาตามเส้นทางต่าง ๆ พร้อม การบรรยาย และ นำจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในอาคาร และ ในสภาพธรรมชาติ สอบถามรายละเอียดได้ตามที่อยู่ และ โทรศัพท์ข้างบน
 ปั่นจักรยานเสือภูเขา(Mountain Biking) ตามเส้นทางธรรมชาติอันหลากหลายระยะทางตั้งแต่ 5-40 กิโลเมตร


การเดินทาง
1. ใช้เส้นทางจากถนนมิตรภาพ (ถนนหมายเลข 2) จากจังหวัดนครราชสีมา หรือ จากกรุงเทพฯ - สระบุรี - นครราชสีมา แยกเข้าสู่ถนนหมายเลข 24 ที่ อำเภอสีคิ้ว จ. นครราชสีมา บริเวณ ร้านอาหารตอไม้ หรือ บ้านมะเกลือใหม่ ไปยัง บ้านหนองปล้อง บ้านไทรงาม และ บ้านคลองสมบูรณ์ ตามลำดับ หรือ อาจจะเข้ามาทางอำเภอปากช่อง ตามถนนหมายเลข 2235 ผ่านบ้านคลองม่วง มายังบ้านไทรงาม ก็ได้ 
2. ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายนครราชสีมา-ปักธงชัย-วังน้ำเขียว แล้วแยกเข้าถนนสาย 2072 ในเขต อำเภอปักธงชัย ผ่านไปยัง บ้านตะขบ ไปยังบ้านหนองปล้อง และ บ้านไทรงาม หรือจะเลยยังไปอำเภอวังน้ำเขียว แล้วแยกเข้าสู่ถนน 2235 บริเวณ ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียว ก็ได้
เส้นทางบางช่วงขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขยาย และ ปรับปรุง คาดว่าจะเป็นถนนลาดยางจนถึงโครงการในปี 2548 นี้

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554



ความหมายและองค์ประกอบ 
ในช่วงที่กระแสของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแพร่ขยายไปทั่วโลก การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทยได้จัดทำแผนพัฒนาและอนุรักษ์การท่องเที่ยว โดยจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา เรื่อง Ecotourism ระยะแรกคณะทำงานมีมติใช้คำจำกัดความ Ecotourism ในความหมายภาษาไทยว่า "การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" โดยมีความประสงค์ที่จะสื่อความหมายให้กับชาวไทยทุกระดับเข้าใจว่า รูปแบบการท่องเที่ยว Ecotourism นับเป็นรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ในการรับรู้ของชาวไทย คือ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 
ต่อมา ททท. ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) ทำการศึกษาเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ และขอให้ราชบัณฑิตยสถานกำหนดความหมาย ในที่สุดได้ความหมายของคำว่า Ecotourism คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมายถึง การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
องค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 
องค์ประกอบหลักที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 4 ประการ คือ 
1. องค์ประกอบด้านพื้นที่ เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น (Identity or Authentic or Endemic or Unique) ทั้งนี้รวมถึงแหล่งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ (Eco - system) ในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้น องค์ประกอบด้านพื้นที่จึงเป็นการท่องเที่ยวที่มีพื้นฐานอยู่กับธรรมชาติ (Nature - based tourism) 
2. องค์ประกอบด้านการจัดการ เป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ (Responsible travel) โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มีการจัดการที่ยั่งยืนครอบคลุมไปถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร การจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกันและกำจัดมลพิษ และควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีขอบเขต จึงเป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainably managed tourism) เพื่อให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ (Responsible travel) ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม 
3. องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ เป็นการท่องเที่ยวทีมีกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) โดยมีการให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ความประทับใจ เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องต่อนักท่องเที่ยว ประชาชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นการท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental education-based tourism) 
4. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม เป็นการท่องเที่ยวที่มีการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนท้องถิ่น (Involvement of local community or People participation) ที่มีส่วนร่วมในการคิด วางแผน ปฏิบัติตามแผน ได้รับประโยชน์ ติดตามตรวจสอบ ตลอดจนร่วมบำรุงรักษาทรัพยากรท่องเที่ยว อันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในท้องถิ่น ทั้งกระจายรายได้ การยกระดับคุณภาพชีวิตและการได้รับผลตอบแทนเพื่อกลับมาบำรุงรักษาและจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วย และในที่สุดแล้วท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ ท้องถิ่นในที่นี้เริ่มต้นจากระดับรากหญ้า (Grass root) จนถึงการปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมชุมชน (Community participation-based tourism) 

หากการท่องเที่ยวใดมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ตามลักษณะดังกล่าวข้างต้น จัดได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สมบูรณ์ หากขาดหรือปราศจากข้อใดข้อหนึ่งไปความสมบูรณ์จะลดน้อยลงจนอาจกลายเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น ๆ 
ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ การมุ่งเน้นในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อประสานการท่องเที่ยวกับความพอใจในการเรียนรู้และสัมผัสกับระบบนิเวศ (Eco - system) มีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับความสนใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์ในการเอาชนะธรรมชาติ (ที่รวมเอาลักษณะวัฒนธรรมที่มีวิถีชีวิตแบบธรรมชาติ หรือเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ไว้) ลักษณะเฉพาะนี้จึงทำให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม่ใช่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (Cutural tourism และ Historical tourism) แม้ว่าจะมีความคาบเกี่ยวกันในพื้นที่ก็ตาม ในทำนองเดียวกันการท่องเที่ยวธรรมชาติ (Natural tourism) จึงไม่ใช่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้งหมด ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดการการท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วย ดังนั้น แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จึงมีบางส่วนจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้หรือแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งๆ อาจมีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวแบบอื่นๆ ได้ 
จากลักษณะดังกล่าว จึงมีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม ดังนี้ 
1. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวแนวใหม่ที่แตกต่างจากการท่องเที่ยวแบบปกติหรือแบบประเพณีนิยม ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นความพอใจของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก และเน้นการส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ 
2. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ไม่ใช่สิ่งตรงข้ามกับการท่องเที่ยวแบบคณะใหญ่ (Mass tourism) เพราะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม่ได้ถูกจำกัดที่ขนาดของการท่องเที่ยว แต่จำกัดที่รูปแบบกิจกรรมและขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ นักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ สามารถทำลายสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกันหรือมากกว่านักท่องเที่ยวคณะใหญ่หากปราศจากการจัดการที่ดี การจัดการกับการท่องเที่ยวคณะใหญ่ในทิศทางและภายใต้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ จัดเป็น Mass ecotourism 
3. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ไม่จำเป็นต้องเป็นการจัดการที่ง่ายๆ ราคาถูก มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่ยากลำบาก มีรายได้จากการท่องเที่ยวน้อย เพียงแต่มีการจัดการที่ดี มีการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประสานความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวและให้ประโยชน์ที่เหมาะสมตามความคาดหวังของนักท่องเที่ยวแล้ว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอาจตอบสนองนักท่องเที่ยวได้ทุกกลุ่ม ทุกระดับและมีรายได้สูงได้เช่นกัน 
4. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงให้ความสำคัญในการให้การศึกษาและสร้างจิตสำนึกมากกว่าการให้ความพึงพอใจอย่างไม่มีขอบเขตของนักท่องเที่ยว ดังนั้นจึงเป็นการท่องเที่ยวที่ต้องมีการประสานความเข้าใจกันอย่างเหมาะสมตลอดกระบวนการ 
จากการศึกษากำหนดความหมายและนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแล้ว ทำให้ทราบว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Conservation tourism) ที่หมายถึง รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่รักษาคุณภาพทั้งการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (Natural - based tourism) และแหล่งวัฒนธรรม (Cultural - based tourism) อันจะนำไปสู่การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable tourism) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพ โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ความเป็นธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดกาลยาวนานที่สุด 


กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสามารถกระทำได้หลายรูปแบบในพื้นที่ธรรมชาติที่มีระบบนิเวศต่าง ๆ กัน เช่น กลุ่มระบบนิเวศป่าเขาจะเน้นกิจกรรมที่อาศัยทรัพยากรนันทนาการประเภท ป่าไม้ สัตว์ป่า แหล่งน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ น้ำตกต่าง ๆ สภาพภูมิทัศน์ของลักษณะสัณฐานที่ดิน (Land Forms) และสัณฐานทางธรณีที่เป็นลักษณะเด่นแปลกตา หรือลักษณะเด่นที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และวัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิมในพื้นที่เป็นหลักสำคัญ ส่วนหลุ่มระบบนิเวศแบบเกาะแก่งชายฝั่งมักจะได้รับความสนใจในด้านทรัพยากรทางทะเล (Marine Resources) ที่ยังคงสภาพธรรมชาติสมบูรณ์สวยงาม เช่น ปะการัง ปลาสวยงาม ชายหาดที่สวยงาม ส่วนสภาพป่า - เขาหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ จะได้รับความสนใจเป็นอันดับรองลงมา ดังนั้นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะเน้นไปในส่วนที่เป็นชายฝั่ง (Wetland) กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ได้รับความนิยมมากคือการดูนกต่าง ๆ โดยเฉพาะ นกต่างถิ่นที่หาดูได้ยากการพิจารณาว่ากิจกรรมการท่องเที่ยวใด ควรที่จะพัฒนาส่งเสริมให้เกิดขึ้นในพื้นที่ธรรมชาติ ภายใต้แนวความคิดในการ


ที่มา www.environnet.in.th/index.php?option=com_content